เมนู

( 5 ) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น


[16] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จณฺฑํ หตฺถึ ปริวชฺเชติ
ความว่า ภิกษุไม่พึงยืนอยู่ในที่ใกล้ช้างตัวดุร้าย ด้วยคิดว่า เราเป็นสมณะ
ดังนี้ เพราะว่าทั้งความตายทั้งความทุกข์ปางตายซึ่งมีช้างนั้นเป็นเหตุพึงมี
ได้. ภิกษุพิจารณาโดยอุบายคือโดยถูกทางอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้น คือถอยหนี
ช้างตัวดุร้าย. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า จณฺฑํ คือตัวที่ดุร้าย อธิบายว่า ร้ายกาจ.
บทว่า ขาณุํ ได้แก่ตอไม้ตะเคียนเป็นต้น.
บทว่า กณฺฏกฏฺฐานํ ความว่า สถานที่มีหนาม อธิบายว่า โอกาส
ซึ่งมีหนามอยู่จำนวนมาก.
บทว่า โสพฺภํ ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันทั่วไปหมด (บ่อ).
บทว่า ปปาตํ ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันเพียงข้างเดียว ( เหว ).
บทว่า จนฺทนิกํ ได้แก่สถานที่เป็นที่ทั้งของสกปรกมีน้ำที่เป็นเดน
เป็นต้น (บ่อน้ำครำ).
บทว่า โอฬิคลฺลํ ได้แก่โอกาสอันเป็นที่รวมแห่งเปือกตมเป็นต้น
เหล่านั้น. สถานที่นั้นเป็นสถานที่ที่เรี่ยราดด้วยของไม่สะอาดแม้มีประมาณ
ถึงหัวเข่า. ก็สถานที่เหล่านั้นแม้ทั้ง 2 แห่งเป็นสถานชั่วร้ายคล้ายมี
อมนุษย ์ ฉะนั้น สถานที่เหล่านั้นควรเว้นเสีย. ก็อาสนะอันไม่สมควร ชื่อว่า
อนาสนะ.
ในบทว่า อนาสเน นี้ โดยเนื้อความ อนาสนะนั้นพึงทราบว่าได้แก่
อาสนะซ่อนอยู่ในที่ลับมีทัพพสัมภาระที่ไม่แน่นอน. ก็ที่เที่ยวไปอันไม่
สมควร ชื่ออโคจร แม้ในบทว่า อโคจเร นี้. ที่อโคจรนั้นมี 5 อย่าง

โดยแยกประเภทเป็นหญิงแพศยาเป็นต้น.
บทว่า ปาปเก มิตฺเต ได้แก่มิตรปฏิรูป หรือมิตรผู้ชั่วช้า คือผู้
ทุศีล.
บทว่า ภชนฺตํ แปลว่า เสพอยู่.
บทว่า วิญฺญู สพฺรหฺมจารี ความว่า เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้เป็นบัณฑิต คือผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้. คำนี้ เป็นชื่อของภิกษุทั้งหลาย.
เพราะว่าภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติธรรมอันเสมอด้วยพรหมนี้ ด้วยคิดว่า
เราจะเป็นผู้มีกรรมร่วมกัน และเรียนอุเทศร่วมกัน และมีความเป็นผู้มี
สิกขาเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่าสพรหมจารี.
บทว่า ปาปเกสุ ฐาเนสุ ความว่า ในสถานที่ทั้งหลายที่ลามก.
บทว่า โอกปฺเปยฺยุํ ความว่า พึงเชื่อไค้ คือพึงน้อมใจเธอได้ว่า
ท่านผู้มีอายุนี้ได้กระทำหรือจักกระทำแน่ ดังนี้.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่เว้นบรรดาอันตรายมี
ช้างเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวนั่นแหละ. ก็ในที่นี้
พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะอย่างนี้. กามาสวะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
ประสบทุกข์ซึ่งมีช้างเป็นต้นเป็นเหตุแล้วปรารถนาความสุขอยู่. ภวาสวะ
ย่อมเกิดมีแก่ภิกษุผู้ปรารถนาภพว่า ทุกข์เช่นนี้ของเราไม่มีในสัมปัตติภพ
คือในสุคติภพ. การยึดถือว่า ช้างจะเหยียบเรา ม้าจะเหยียบเรา ดังนี้ ชื่อว่า
ทิฏฐาสวะ. อาสวะที่สัมปยุตด้วยอกุศลธรรมทุกอย่าง ชื่อว่าอวิชชาสวะ.
ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ ปริวชฺชนา ปหาตพฺพา ความว่า
อาสวะมีมากอย่าง เพราะแยกอาสวะเหล่านี้ออกเป็นอย่างละ 4 ด้วย
อำนาจอันตรายมีช้างเป็นต้นแต่ละอย่าง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า พระโยคาวจรพึงละเสียด้วยการเว้น กล่าวคือสีลสังวรนี้.

(6) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา


[17] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ
ความว่า พระโยคาวจรพิจารณาเห็นโทษในกามวิตกโดยแยบคาย โดย
นัยเป็นต้นว่า วิตกนี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ วิตกนี้มีโทษแม้เพราะเหตุ
นี้ และวิตกนั้นแลย่อมเป็นไปแม้เพื่อความเบียดเบียนตนเอง ดังนี้แล้ว
ยับยั้งไว้ไม่ได้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้น ได้แก่บังเกิดขึ้นแล้วในอารมณ์นั้น ๆ
อธิบายว่า ยกจิตขึ้นเสียแล้วให้กามวิตกหยุดอยู่ไม่ได้ หรือไม่ให้กามวิตก
หยุดอยู่ภายในได้.
ถามว่า ภิกษุเมื่อยับยังไว้ไม่ได้จะทำอย่างไร ?
ตอบว่า ย่อมละ. คือทิ้งวิตกนั้นเสีย.
ถามว่า ภิกษุจะละทิ้งวิตกเหมือนคนเอาตะกร้าตักหยากเยื่อทิ้งหรือ ?
ตอบว่า หามิได้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรเทา คือถอน ได้แก่แทง หมายความว่า
นำออกไปซึ่งกามวิตกนั้น.
ถามว่า แทงเหมือนกับบุคคลเอาปฏักแทงโคพลิพัทหรือ ?
ตอบว่า หาใช่เช่นนั้นไม่. โดยที่แท้แล้วจะทำกามวิตกนั้นให้ย่อยยับ
ไป คือทำกามวิตกนั้นให้ปราศจากไป ได้แก่ทำกามวิตกนั้น (ให้เป็น )
โดยที่มันไม่เหลืออยู่แม้ในภายในของภิกษุนั้น โดยที่สุดแม้เพียงในภวังคจิต
(ก็ไม่มี).
ถามว่า ภิกษุจะทำวิตกนั้น ให้เป็นอย่างนั้น ได้อย่างไร ?